เนื่องด้วยปีนี้เป็นปีแห่งการครบรอบ 50 ปีของเรือบรรทุกเครื่องบินขับเคลื่อนด้วยพลังงานนิวเคลียลำแรกของโลกเลยอยากจะพาเพื่อนๆทุกคนมาทำความรู้จักกับเรือลำนี้กันครับว่ามีความเป็นมาเป็นอย่างไร เรือบรรทุกเครื่องบิน U.S.S. Enterprise CVN-65 หรือ Big E ถือว่าเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินขับเคลื่อนด้วยพลังงานนิวเคลียลำแรกของโลก ด้วยระวางขับน้ำกว่า 93284 ตัน (เต็มที่ 94781) ทำให้ Big E เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินใหญ่ที่สุดในโลกก่อนการเข้าประจำการของเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Nimitz ในเวลาต่อมา Big E ถูกปล่อยลงน้ำเมื่อวันที่ 24 กันยายน 1960 โดยอู่ต่อเรือของบริษัท Newport News Shipbuilding and Drydock Company ด้วยมูลค่าโครงการกว่า 451.3 ล้านดอลลาร์ ในระยะแรกนั้นกองทัพเรือสหรัฐมีแผนที่จะต่อเรือชั้นนี้ขึ้นมาจำนวน 6 ลำน
จำนวนการดูหน้าเว็บรวม
วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2554
วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
Night Vision
Today I will talking about the important of the night vision in a passenger cars from three companies, Mercedes Benz, BMW and Audi.
First is the Night vision from Mercedes Benz S-Class which has been developed and has been using in S-Class in the present model for many years.
First is the Night vision from Mercedes Benz S-Class which has been developed and has been using in S-Class in the present model for many years.
วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554
Nuclear Power For Thailand
Research Question
In my report, I will use the cost benefit analysis to value the true benefit from the nuclear power in Thai society and both local and domestic approach and also the cost that will be effect the local people and impact to the country as a hole. This research is very important to the kingdom of Thailand in which the national energy security is unsafe due to the true fact that every resource in the world will be depleted and the growing of world energy consumption has rising especially in China, Brazil, India. In these countries, poor people becoming get a better standard of living that will increase the energy consumption and drive the price of world commodity to increase. Building new power plant to match the demand of the energy consumption is necessary, however the source of energy that use to produce electricity has to suit both environmental and economical issue, this is why studying the possibility of building the nuclear power plant is so important to Thailand energy security.
วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
Next Step For South Korea Airforce (FX-III)
F-35 Lighterning II
ได้มีการยืนยันจากสำนักงานจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพเกาหลีใต้ที่เครื่องบินแบบ Sukhoi T-50 ซึ่งเป็นเครื่องบินขับไล่ล่องหนในยุคที่ 5 ที่อยู่ในระหว่างการพัฒนาของรัสเซียได้กลายมาเป็นหนึ่งในคู่แข่งสำคัญในโครงการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่แบบใหม่ของ ทอ.เกาหลีใต้หรือโครงการ FX-III ซึ่งมีคู่แข่งสำคัญจากทั้งสหรัฐและยุโรปได้แก่ เครื่องบินรบแบบ F-35 Lighting II, F-15 SE และ Eurofighter Typhoon
วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
The use of nuclear weapons and paradox of deterrence Part II (Advancing Of Nuclear Weapons)
หากดูจากแนวคิดในการใช้อาวุธในเคลียในสนามรบแล้วนั้น อย่างที่กล่าวในช่วงแรกว่าอาวุธนิวเคลียหากมองในด้านการใช้งานเพื่อให้ มีความสามารถในการป้องกันการโจมตีด้วยอาวุธแบบแกตินั้น ทำให้เกิดสองคำถามขึ้นในเวลานั้น โดยจะใช้ตัวอย่างของสหรัฐอเมริกาและ อดีตสหภาพโซเวียตเป็นตัวอย่าง
ในมุมมองของโซเวียตนั้น พวกเขาจะทำอย่างไรหากอเมริกาใช้อาวุธนิวเคลียในการทำลายล้างสหภาพโซเวียจอย่างหมดจด และในมุมมองของ อเมริกานั้นพวกเขาจะทำลายโซเวียตทั้งประเทศได้อย่างไร คำถามเหล่านี้นำมาสู่การพัฒนาอย่างมหาศาลใน ความสามารถของอาวุธนิวเคลีย โดยแยกเป็นสองแนวทาง
วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
History of Submarine ( Late Cold war)
ในช่วงท้ายของยุคสงครามเย็น กองเรือดำน้ำทั้งของกองทัพเรือตะวันตกและของกองทัพเรือสหรัฐได้มีการพัฒนาก้าวกระโดดอย่างต่อเนื่อง ในช่วงนี้ได้มีการสร้างเรือที่ทันสมัยที่สุดและน่าเกรงขามมากที่สุดในกำลังทางเรือของกองทัพเรือ เรือดำน้ำติดขีปนาวะขนาดใหญ่ที่สุดในโลกได้ถูกสร้างขึ้นในเวลานี้ เรือชั้น ไต้ฝุ่น ของกองทัพเรือแดงถือเป็นเรือดำน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกจนถึงปัจจุบัน โดยติดตั้งขีปนาวุธข้ามทวีปจำนวน 20 ลูกและติดตั้งหัวรบแบบหลายหัวซึ่งในขณะที่ทำการยิงไปแล้วนั้น จรวจหนึ่งลูกสามารถทำความเสียหายให้แก่เมืองได้อย่างน้อย 5 เมือง หรืออาจจะสามารถเลือกใช้หัวรบทั้งหมดในการโจมตีเป้าหมายเดียวเนื่องจาก ในยุคนี้มีการพัฒนาระบบป้องกันภัยจากขีปนาวุธข้ามทวีปที่มีประสิทธิภาพขึ้น ถึงแม่บางโครงการจะไม่สำเร็จแต่สิ่งที่ได้เรียนรู้และพัฒนาในเวลาเหล่านั้นก็ได้นำมาใช้ในการสร้างระบบป้องกันขีปนาวุธข้ามทวีปในปัจจุบัน
วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554
The use of nuclear weapons and paradox of deterrence Part I ( Introduction To Nuclear warfare )
อาวุธนิวเคลียถูกใช้คร้งแรกและครั้งเดียวคือในสงครามโลกครั้งที่ 2 การ ทิ้งระเบิดนิวเคลียใส่เมือง ฮิโรชิมา และ นางาซากิ นั้นช่วยให้อมริกาสามรถยุติสงครามโลกครั้งที่สองโดยไม่ต้องสูญเสียกำลังพล และยุทโธปกร์ในการบุกเกาะญี่ปุ่น ถึงกระนั้นแม้ว่าโลกจะเคยเผชิญกับความน่ากลัวและความสามรถของระเบิดนิวเคลีย ในสงครามโลกครั้งที่สองมาแล้ว แต่ถึงกระนั้น ระหว่างสงครามเย็นที่มี ที่เกิดสงครามย่อยๆทั่วโลกไม่ว่าจะเป็น เวียดนามในปี 60 อาฟกานิสฐานในปี 80 และ สงครามในตะวันออกกลางระหว่างชาติกาหรับกับอิสราเอลนั้น ประเทศที่ล้วนเข้าไปทำสงครามนั้นล้วนแล้วแต่มีตวามสามารถที่จะใช้นิวเคลียใน การทำลายล้างศัตรูในสนามรบทั้งสิ้น แต่ว่าอะไรเป็นสิ่งที่ไม่ทำให้เกิดชึ้นละ อืมมมมม น่าคิดนะครับบ
วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554
History of Submarine (Part IV ASW Assets)
หลังจากภาคที่แล้วเราได้ทำความรู้จักกับเรือดำน้ำโจมตีและเรือดำน้ำติดขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ไปแล้ว คราวนี้เรามาดูการเทคโนโลยีการปราบเรือดำน้ำในช่วงสงครามเย็นกันครับ หลังจากที่การพัฒนาเรือดำน้ำได้ทำให้เรือดำน้ำนั้นทั้งดำได้ลึกขึ้น แล่นได้เร็วขึ้นแต่ที่สำคัญที่สุดคือ แล่นได้เงียบกว่าและปฏิบัตการต่อเนื่องใต้น้ำได้กว่าเรือรุ่นช่วงสงครามโลกครั้งที่สองมากขึ้น คราวนี้เราจะทำอย่างไรละที่เราจะตามหาเรือดำน้ำในมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ไพศาล นี่ก็เหมือนกับการงมเข็มในมาหสมุทรนั่นเองครับ ทางด้านกองทัพสหรัฐได้มีการพัฒนาไฮโดรโฟนใต้น้ำที่จะนำไปติดตั้งตามพื้นท้องมหาสมุทร โดยเฉพาะในด้านมหาสมุทรแอตแลนติกระหว่างช่องว่าง กรีนแลน ไอซแลน และ สกอตร์แลน ช่องแคบระหว่างเกาะนี้จะเป็นช่องทางเดียวที่กองเรือดำน้ำของกองทัพเรือโซเวียตจะต้องใช้ในการเข้าสู้มหาสมุทรแอตแลนติก โครงการนี้เรารู้จักกันในนาม SOSUS (โซซัส)
วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554
History of Submarine (Part III Cold War SSN and SSBN)
หลังจากความสำเร็จของเรือชั้น Skipjack ขั้นต่อมาของการพัฒนาเรือดำน้ำโจมตีของกองทัพเรือสหรัฐนั้นขึ้นอยู่กับสมรรถณะทั้งในด้านความเร็วและความเงียบ เรือชั้น Thresher ได้รับการออกแบบมาเพื่อจุดประสงค์นี้ ความล้ำหน้าของเทคโนโลยีความเงียบในเรือนั้นขึ้นอยู่กับหลายๆปัจจัยด้วยกัน เสียงของเรือนั้นอาจจะมาจากเสียงปั้มน้ำของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่วางอยู่ในเรือซึ่งแม้แรงสั่นสะเทือนเพียงเล็กน้อยก็จะถูกส่งผ่านไปยังตัวเรือและออกไปสู่ทะเลด้านนอก ทางแก้ที่ใช้ได้ผลก็คือ ข้อต่อทุกชิ้นในเรือชั้นนี้จะมีการใช้ยางใส่เข้าไประหว่างข้อต่อต่างๆนั้นจะช่วยลดการส่งต่อของทั้งเสียงและแรงสั่นสะเทือนในตัวเรือออกไปด้านนอกได้น้อยลง แต่ที่น่าสนใจอีกสำหรับเรือชุดนี้ก็คือการที่เรือชุดนี้ได้รับการออกแบบให้มีโดมโซนาร์ที่หัวเรือและย้ายห้องตอร์ปิโดไปไว้ในส่วนหลังของโดมโซนาร์ โครงเรือซึ่งจะเป็นบริเวณที่รับแรงกดของน้ำได้รับการออกแบบใหม่จากการศึกษามาจากเรือชั้นก่อน ซึ่งจะทำให้เรือสามารถทำความลึกได้ถึงกว่า 1300 ฟุตเลยทีเดียว
วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554
History of Submarine (Part II Beginning of Cold War Era)
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เทคโนโลยีเรือดำน้ำที่กองทัพพันธมิตรได้เข้าไปเจอในอู่เรือของเยอรมันนั้นทำให้ถึงกับตะลึงกับความสามารถทางเทคโนโลยีของเรือดำน้ำเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โดยเฉพาะเรือ Type XXI นั้นเป็นเรือดำน้ำที่ถือได้ว่ามีความทันสมัยที่สุดในยุคนั้น ทันสมัยกว่าเรือดำน้ำของประเทศพันธมิตรที่ปฏิบัติการอยู่ในเวลานั้น และยังเป็นเรือรุ่นแรกที่ได้รับการออกแบบใหม่หมดให้มีรูปร่างที่ต้านน้ำน้อยพร้อมทั้งเพิ่มขนาดแบตเตอรี่ในเรือให้มากขึ้นกว่าเรือรุ่นก่อนกว่าถึงสามเท่าซึ่งทำให้เรือสามารถทำความเร็วใต้น้ำได้เกือบ 20 น๊อต ในขณะที่เรือรุ่นก่อนหน้าทำได้ช้ากว่านี้มาก อีกทั้งยังเป็นเรือที่ติดตั้งท่อดูดอากาศเข้าสู่เรือ ท่อนี้เป็นสิ่งที่ทำให้เรือสามารถแล่นอยู่ใต้ผิวน้ำได้ในระดับหนึ่งซึ่งถ้าหากเกิดเจอเครื่องบินตรวจการเข้าแล้ว เรือสามารถที่จะทำการดำลงฉุกเฉินได้เร็วกว่าเรือที่แล่นอยู่บนผิวน้ำอย่างมากนอกจากนั้นแล้วในขณะที่เรือทำการแล่นใต้น้ำนั้นเรือรุ่นนี้เป็นเรือที่มีเสียงเงียบมากซึ่งเป็นการยากต่ออุปกรณ์ตรวจจับในยุคนั้นในการระบุตำแหน่งของเรือ หลังสงครามยุติเรือเหล่านี้ได้ถูกแยกชิ้นส่วนและนำกลับไปยังทั้งสหรัฐ อังกฤษและอดีตสหภาพโวเวียตเพื่อทำการเรียนรู้และทำการพัฒนาเรือของตนต่อไป
History of Submarine (Part I From History to Cold war)
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเรือดำน้ำถือว่าเป็นหนึ่งในอาวุธยุทโธปกณ์ที่มีประโยชน์และคุณค่าในหลายๆด้าน แม้ว่าบทบาทของเรือดำน้ำในแต่ละยุคสมัยจะมีความแตกตากกันบ้างตามแต่ภารกิจและคุณสมบัติรวมถึงสมรรถณะของเรือแต่ละลำ แต่ถึงอย่างไรก็ตามเรือดำน้ำก็ยังเป็นหนึ่งในอาวุธที่น่าเกรงขามที่สุดในคลังแสงกำลังรบของกองทัพเรือแต่ละ ชาติ
วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
Air War Fare For Aircraft Carrier Task Group
การป้องกันภัยทางอากาศสำหรับกองเรือบรรทุกเครื่องบินของกองทัพเรือสหรัฐนั้น ถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก เรือบรรทุกเครื่องบินถือว่าเป็นยุทโธปกรณ์ที่สำคัญที่สุดในกองเรือ ดังนั้นความปลอดภัยจองเรือบรรทุกเครื่องบินจึงถือว่าเป็นความสำคัญที่จะแผ่ขยายอำนาจทางทะเลของกองทัพเรือสหรัฐให้ไปที่ใดก็ได้ในโลกที่ทะเลเข้าถึง ภัยคุกคามจากทั้ง เรือดำน้ำ จรวจต่อต้านเรือ และเครื่องบินโจมตีของข้าศึกจึงถือว่าเป็นภัยคุกคามอย่างสูงต่อกองเรือ โดนในกรณีนี้ผมจะขอพูดถึงขั้นตอนและมาตรการการป้องกันทางอากาศของกองเรือ จากทั้งเครื่องบินจากเรือบรรทุกเครื่องบินเอง รวมถึงเรือลาดตระเวณติดอาวุธนำวิธีที่แล่นเคียงข้างเรือบรรทุกเครื่องบินตลอดเวลา
วันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
High Speed Train For Kingdom Of Thailand Part1
The high-speed train have been developed and used in many countries around the world for many decades. The system has proved it self as the alternative solution of transportation system. In European countries, the high-speed train system connected the big city or capital in each region to each other and it help people to connect to neighbor countries with a shorter time than usually transportation except airplane.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)