จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

History of Submarine (Part I From History to Cold war)

  
 ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเรือดำน้ำถือว่าเป็นหนึ่งในอาวุธยุทโธปกณ์ที่มีประโยชน์และคุณค่าในหลายๆด้าน แม้ว่าบทบาทของเรือดำน้ำในแต่ละยุคสมัยจะมีความแตกตากกันบ้างตามแต่ภารกิจและคุณสมบัติรวมถึงสมรรถณะของเรือแต่ละลำ แต่ถึงอย่างไรก็ตามเรือดำน้ำก็ยังเป็นหนึ่งในอาวุธที่น่าเกรงขามที่สุดในคลังแสงกำลังรบของกองทัพเรือแต่ละ ชาติ
  บทบาทและความสำคัญของเรือดำน้ำที่ชัดเจนสามารถเห็นได้ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 เรือดำน้ำได้ถูกใช้ในบทบาทตัดเส้นทางลำเลียงการส่งกำลังบำรุงในบริเวณมหาสมุทรแอตแลนติก เรือ U-boat ของกองทัพเรือเยอรมันได้สร้างความเสียหายอย่างมากให้แก่ทั้งเรือขนส่งพาณิชย์และเรือขนส่งอาวุธยุทโปกรณ์จากประเทศสหรัฐไปสู่สนามรบในยุโรป และเป็นเช่นนี้ไปจนกระทั่งจบสงครามโลกครั้งที่ 1 และกลับมามีบทบาทสำคัญอย่างมากในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เช่นเดียวกับสงครามโลกครั้งแรก เรือดำน้ำได้ถูกใช้เป็นอาวุธหลักในการสร้างความเสียหายให้แก่การส่งกำลังบำรุงข้ามมหาสมุทร กองทัพเรือพันธมิตรต้องทุ่มเททั้งกำลังคนและทรัพยากรอย่างมากในการใช้ต่อต้านเรือดำน้ำ


อุปกรณ์ตรวจจับที่เรียนว่า Sonar นั้นได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการตรวจหาตำแหน่งของเรือดำน้ำรวมทั้งอาวุธแบบใหม่ที่ถูกคิดค้นในยุคนี้ก็อย่างเช่น ระเบิดน้ำลึก เฮดดอค แต่อย่างไรก็ตาม การตามล่าและทำลายเรือดำน้ำก็ถือเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างยิ่งสำหรับกองทัพเรือพันธมิตร เพราะเรือดำน้ำด้วยคุณลักษณะของตัวมันเองแล้ว จะเป็นเรือที่อยู่ใต้น้ำไม่สามารถมองเห็นได้ ด้วยคุณลักษณะเช่นนี้ เรือดำน้ำจึงสามารถที่จะซุ่มรอขบวนเรือขนส่งในจุดใดของมหาสมุทรและทำการโจมตีเมื่อมีโอกาส การที่จะหาเรือดำน้ำจะต้องใช้อุปกรณ์ในการหาตำแหน่งอย่างเช่น Sonar เท่านั้นจึงจะสามารถตรวจพบได้ แม้ว่าจะมีการใช้เครื่องบินลาดตระเวณทางอากาศที่บินทั้งจากฐานบนบกในสหรัฐ อังกฤษ และกรีนแลนก็ตาม แต่ว่าเครื่องบินก็ยังไม่มีอุปกรณ์ตรวจจับบนเครื่องที่จะสามารถหาตำแหน่งของเรือดำน้ำ จึงสามารถใช้ได้เพียงการสังเกตุการเท่านั้น โดยรอเวลาที่เรือดำน้ำจะต้องลอยขึ้นมาชาร์ตแบตเตอรี่ ซึ่งเรือดำน้ำในยุคนั้นจึงถือได้ว่าเป็นจุดอ่อนต่อการโจมตีจากเครื่องบินลาดตระเวณอย่างมากถึงแม้จะมีการติดตั้งปืนกลต่อสู้อากาศยานบนดาดฟ้าแต่นั้นก็
ไม่ได้เป็นการรับประกันความปลอดภัยจากการถูกเครื่องบินตรวจการเข้าโจมตีเรืออย่างไร
  ยุทธวิธีหลายๆด้านได้ถูกนำมาใช้เพื่อการต่อต้านเรือดำน้ำในสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วในขั้นต้น อุปกรณ์ตรวจจับเรือดำน้ำได้ถูกคิดค้น อาวุธปราบเรือดำน้ำได้ถูกพัฒนาและนำมาใช้ การส่งเครื่องบินลาดตระเวณตลอดเวลาที่กองเรืออยู่ในมหาสมุทร การรูปแบบของกองเรือโดยให้เรือพิฆาตปราบเรือดำน้ำแล่นขนานไปกับกลุ่มเรือสินค้า อีกทั้งช่วงหลังสงครามยังมีการส่งเรือบรรทุกเครื่องบินขนาดเล็กที่มีสมรรถณะคล่องตัวสามารถบรรทุกเครื่องบินรบเพื่อการบินลาดตระเวณในพิศัยของกองเรือ เนื่องมากจาก เครื่องบินที่มีฐานบินบนบกนั้นจะต้องบินออกมาจากฐานบินด้วยระยะทางที่ไกลทั้งไปและกลับทำให้สามารถปฏิบัติการลาดตระเวณไปกลับกองเรือได้อย่างจำกัด ซึ่งนั่นเป็นการเปิดช่องให้เรือดำน้ำเข้าโจมตีกองเรืออย่างไม่มีการหลีกเลี่ยง แต่ท้ายที่สุด ด้วยกำลังการผลิตของมหาอำนาจอย่างสหรัฐพร้อมด้วยการค้นพบและประดิษฐ์อุปกรณ์ที่ทันสมัยทำให้ประเทศพันธมิตรรอดพ้นการถูกทำลายล้างกองเรือส่งกำลังบำรุงไปยังแนวรบในยุโรปได้ ถึงแม้ว่าความเสียหายจากเรือดำน้ำในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองจะสูงมากกว่าสงครามโลกครั้งที่หนึ่งก็ตาม เรือขนส่งนับล้านตันรวมทั้งอาวุธยุทโธปกณ์และเสบียงต่างๆก็จมลงไปพร้อมกับเรือเป็น  จำนวนมาก

หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง โลกได้แตกออกเป็นสองขั้วคือโลกฝ่ายเสรีนิยมนำโดยสหรัฐและชาติพันธมิตรกับโลกคอมมิวนิสต์นำโดยอดีตสหภาพโซเวียต ในส่วนของเรือดำน้ำก็ได้มีการพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดดก็ว่าได้ เรือดำน้ำนิวเคลีย์ลำแรก U.S.S. Nautilus ได้ทำสิ่งที่เรือดำน้ำในยุคก่อนทำไม่ได้คือ สามารถปฏิบัติการใต้น้ำต่อเนื่องได้ในระยะเวลาหลายเดือน ซึ่งต่างจากเรือดำน้ำในสงครามโลกครั้งที่สองที่จะต้องขึ้นสู่ผิวน้ำในทุกๆวันเพื่อทำการชาร์ตแบตเตอรี่และเป็นการเสี่ยงที่จะถูกโจมตีจากข้าศึก อีกทั้งยังเป็นเรือดำน้ำลำแรกของโลกที่สามารถเดินทางไปถึงขั้วโลกเหนือได้สำเร็จเป็นลำแรกและชาติแรกอีกด้วย

2 ความคิดเห็น:

  1. โห ถ้าอยู่ใต้น้ำนานเป็นเดือนๆนี่คงเซ็งแย่เลยนะครับเนี่ย

    ตอบลบ
  2. เรื่องนี้ก็ถือเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งเลยนะครับ เพราะว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถทำงานบนเรือดำน้ำได้ครับ

    ตอบลบ