จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554

History of Submarine (Part III Cold War SSN and SSBN)


หลังจากความสำเร็จของเรือชั้น Skipjack ขั้นต่อมาของการพัฒนาเรือดำน้ำโจมตีของกองทัพเรือสหรัฐนั้นขึ้นอยู่กับสมรรถณะทั้งในด้านความเร็วและความเงียบ เรือชั้น Thresher ได้รับการออกแบบมาเพื่อจุดประสงค์นี้ ความล้ำหน้าของเทคโนโลยีความเงียบในเรือนั้นขึ้นอยู่กับหลายๆปัจจัยด้วยกัน เสียงของเรือนั้นอาจจะมาจากเสียงปั้มน้ำของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่วางอยู่ในเรือซึ่งแม้แรงสั่นสะเทือนเพียงเล็กน้อยก็จะถูกส่งผ่านไปยังตัวเรือและออกไปสู่ทะเลด้านนอก ทางแก้ที่ใช้ได้ผลก็คือ ข้อต่อทุกชิ้นในเรือชั้นนี้จะมีการใช้ยางใส่เข้าไประหว่างข้อต่อต่างๆนั้นจะช่วยลดการส่งต่อของทั้งเสียงและแรงสั่นสะเทือนในตัวเรือออกไปด้านนอกได้น้อยลง แต่ที่น่าสนใจอีกสำหรับเรือชุดนี้ก็คือการที่เรือชุดนี้ได้รับการออกแบบให้มีโดมโซนาร์ที่หัวเรือและย้ายห้องตอร์ปิโดไปไว้ในส่วนหลังของโดมโซนาร์ โครงเรือซึ่งจะเป็นบริเวณที่รับแรงกดของน้ำได้รับการออกแบบใหม่จากการศึกษามาจากเรือชั้นก่อน ซึ่งจะทำให้เรือสามารถทำความลึกได้ถึงกว่า 1300 ฟุตเลยทีเดียว
แต่อย่างไรก็ตามเรือลำแรกในชั้นนี้คือ U.S.S. Thresher นั้นประสบปัญหาอย่างมากขณะทำการต่อเรือและกำหนดการต่างๆที่ได้วางไว้ต้องเลื่อนออกไปเป็นปี เนื่องมาจากเทคโนโลยีและการต่อเรือแบบใหม่นี้สร้างความลำบากให้กับอู่ต่อเรืออย่างยิ่ง หลายๆอย่างในเรือชุดนี้ก็ยังไม่เคยได้รับการทดสอบในสภาวะจริงมาก่อน แต่ถึงอย่างนั้นแม้จะล่าช้ากว่าแผนที่ได้วางไว้ เรือก็ได้ออกสู่ทะเลเพื่อทำการทดสอบแต่เรือก็ไม่เคยได้กลับเข้าฝั่งอีกเลย การสูญเสียเรือดำน้ำครั้งนี้นับเป็นการสูญเสียที่สำคัญต่อกองทัพเรือสหรัฐอย่างมาก โครงการเพื่อความปลอดภัยในการใช้เรือดำน้ำหรือที่เรียนว่า Sub-Save ได้ถูกตั้งขึ้นเพื่อเป็นกฏเกณฑ์ด้านความปลอดภัยสำหรับเรือดำน้ำลำอื่นๆต่อมาของกองทัพเรือสหรัฐ เรือลำต่อมาในชั้นนี้ U.S.S. Permit ก็ได้เข้าประจำการหลังจากการจมของเรือ Thresher และเป็นกองเรือดำน้ำโจมตีหลักของกองทัพเรือสหรัฐจนถูกเรือชั้น Sturgeon และเรือชั้น Los Angeles กลางสงครามเย็น


   จากการเปลี่ยนแปลงทางด้านยุทธศาสตร์ทางด้านกำลังรบนิวเคลียของกองทัพสหรัฐในช่วงเริ่มต้นของสงครามเย็น กองทัพอากาศโดย Strategic Air Command จะเป็นผู้รับผิดชอบฝูงบินทิ้งระเบิดอย่างเช่น B-52 จะทำหน้าที่เป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดนิวเคลียทางยุทธศาสตร์ต่อฐานที่ตั้งทางทหารและ สถาณที่สำคัญด้านยุทธศาสตร์ลึกเข้าไปในพรมแดนของอดีตสหภาพโซเวียต ซึ่งหลังจากเหตุการที่เครื่องบินจรกรรมแบบ U-2 ของ ฟรานซิส แกรี่ พาวเวอร์ได้ถูกยิงตกเหนือน้านฟ้าโซเวียตและอีกครั้งระหว่างวิกฤตการขีปนาวุธคิวบา ซึ่งทำให้เห็นว่าการกองทัพสหรัฐประเมินการป้องกันภัยทางอากาศของกองทัพแดงน้อยเกินไป ทำให้มีการสรุปว่าการที่จะปล่อยให้ภาระทั้งหมดอยู่ที่เครื่องบินทิ้งระเบิดที่อุ้ยอ้ายอย่าง B-52 บินเข้าไปในน่านฟ้าโซเวียตและทำภารกิจให้สำเร็จมีโอกาสน้อยลงมากและฐานปล่อยขีปนาวุธข้ามทวีปก็ยังเป็นเป้าหมายอันดับแรกในการโจมตีระรอกแรกด้วยนิวเคลียร์แล้ว แนวคิดเรื่องเรือดำน้ำติดตั้งขีปนาวุธข้ามทวีปจึงได้เริ่มขึ้น ด้วยการใช้แบบของเรือดำน้ำโจมตีชั้น skipjack และเพิ่มขนาดความยาวของลำตัวเรือให้มากขึ้นเพื่อที่จะให้สามารถติดตั้งขีปนาวุธข้ามทวีปแบบ Polaris A1 จำนวน16ลูกได้ เรือลำแรกในชั้นนี้คือเรือ U.S.S. George Washington ได้ออกสู่ทะเลในต้นยุค 60 และมีการต่อเรือชั้นนี้ตามออกมาอีก 5 ลำ
ด้านกองทัพเรือโซเวียต แนวคิดในการใช้เรือดำน้ำของกองทัพเรือโซเวียตจะแตกต่างออกไปจากกองทัพเรือสหรัฐ เรือดำน้ำโจมตีในช่วงเดียวกันกับเรือสหรัฐด้านบนส่วนใหญ่จะเป็นเรือที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล เหตุนี้มากจากเทคโนโลยีของกองทัพแดงสมัยนั้นยังไม่มีความสามารถเทียบเท่าได้กับทางด้านสหรัฐ แต่อย่างไรก็ตามเรือดำน้ำนิวเคลียติดขีปนาวุธลำแรกคือเรือชั้น Hotel โดยเรือลำแรกคือเรือที่เราๆรู้จักกันดีจากหนังคือเรือ K-19 นั่นเองครับข้อเสียของเรือดำน้ำนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธข้ามทวีปของโซเวียตนั้นคือการที่นักออกแบบโซเวียตเลือกใช้ขีปนาวุธข้ามทวีปแบบเชื้อเพลิงเหลว ซึ่งทำให้จรวจนั้นจะต้องมีขนาดทั้งใหญ่และกินพื้นที่บนเรือดำน้ำอย่างมาก ซึ่งทำให้เรือดำน้ำซึ่งพื้นที่ก็ไม่ค่อยจะมีอยู่แล้วแออัดเข้าไปอีก และการใช้เชื้อเพลิงเหลวยังเป็นอันตรายอย่างมากสำหรับเรือดำน้ำเพราะเชื้อเพลงนั้นอาจจะหลั่วไหลแล้วถ้าหากเกิดประกายไฟขึ้นก็จะทำให้เรือเสียหายอย่างหนักได้อย่างที่เคยเกิดขึ้นในเรือดำน้ำของกองทัพแดงหลายๆลำ ต่างจากกองทัพเรือสหรัฐที่เลือกใช้ขีปนาวุธเชื้อเพลงเหลวซึ่งมีความปลอดภัยมากกว่า นอกจากเรือดำน้ำติดขีปนาวุธแล้วในยุคนี้เรือดำน้ำโตมตีพลังงานนิวเคลียของกองทัพเรือแดงที่ต่อออกมามีเพียงลำเดียวคือเรือชั้น November ที่เหลือเห็นจะเป็นเรือที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลเท่านั้นเพราะอย่างที่ได้กล่าวไปในข้างต้นแล้ว เรือดำน้ำนิวเคลียร์ยังถือว่าเป็นอะไรที่ใหม่มากมากและมีควาสลับซับซ้อนในการสร้างมากกว่าอีกทั้งเทคโนโลยีในหลายๆด้านของอดีตสหภาพโซเวียตก็ยังพัฒนาได้ไม่ใกล้เคียงกับสหรัฐมากทำให้กองทัพเรือแดงเลือกที่จะต่อเรือดีเซลออกมาทดแทนข้อด้อยนี้ อีกทั้งเนื่องมาจากความเกรงกลัวในแสนยานุภาพทางทะเลของกองเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐ ทำให้กองทัพเรือโซเวียตได้ออกแบบเรือดำน้ำติดขีปนาวุธโจมตีเรือผิวน้ำโดยเฉพาะ โดยเรือชุดแรกชั้น Whiskey ซึ่งเป็นเรือดีเซลและเรือนิวเคลียร์ที่ต่อออกมาที่หลังคือเรือชั้น Echo ซึ่งทั้งสองแบบติดตั้งขีปนาวุธต่อต้านเรือผิวน้ำและมีภารกิจหลักในการโจมตีเรือบรรทุกเครื่องบินของกองทัพเรือสหรัฐ


ทางด้านกองทัพเรืออังกฤษ หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพเรืออังกฤษก็ได้รับเรือดำน้ำเยอรมันกลับไปทำการวิเคราะห์และประเมินผลเช่นเดียวกับสหรัฐและอดีตสหภาพโซเวียต และมีแผนที่จะพัฒนาเรือดำน้ำนิวเคลียร์ซึ่งได้ถูกยกเลิกภายหลัง แต่อย่างไรก็ตามในยุค 50 กองทัพเรือของชาติสมาชิกสาธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือหรือนาโต้ได้ทำการซ้อมปราบเรือดำน้ำโดยเรือดำน้ำสหรัฐ U.S.S. Nautilus เป็นข้าศึกสมมุติและให้กองทัพเรืออังกฤษเป็นผู้ล่า ผลจากการซ้อมรบครั้งนี้ เรือดำน้ำสหรัฐได้ใช้ความได้เปรียบของพลังงานนิวเคลียร์ในการหลบเลี่ยงเทคนิคการตรวจจับเรือดำน้ำของกองทัพเรืออังกฤษได้อย่างดีเยี่ยม สิ่งนี้ทำให้กองทัพเรืออังกฤษวางแผนที่จะต่อเรือดำน้ำลำแรกที่ใช้พลังงานนิวเคลียร์ H.M.S. Dreadnought ขึ้นโดยได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีส่วนมากจากกองทัพเรือสหรัฐและในวัน Trafalgar สมเด็จพระราชินีควีนอลิซเบตที่สองเสด็จมาปล่อยเรือลงน้ำด้วยพระองค์เองครับ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น