หากดูจากแนวคิดในการใช้อาวุธในเคลียในสนามรบแล้วนั้น อย่างที่กล่าวในช่วงแรกว่าอาวุธนิวเคลียหากมองในด้านการใช้งานเพื่อให้ มีความสามารถในการป้องกันการโจมตีด้วยอาวุธแบบแกตินั้น ทำให้เกิดสองคำถามขึ้นในเวลานั้น โดยจะใช้ตัวอย่างของสหรัฐอเมริกาและ อดีตสหภาพโซเวียตเป็นตัวอย่าง
ในมุมมองของโซเวียตนั้น พวกเขาจะทำอย่างไรหากอเมริกาใช้อาวุธนิวเคลียในการทำลายล้างสหภาพโซเวียจอย่างหมดจด และในมุมมองของ อเมริกานั้นพวกเขาจะทำลายโซเวียตทั้งประเทศได้อย่างไร คำถามเหล่านี้นำมาสู่การพัฒนาอย่างมหาศาลใน ความสามารถของอาวุธนิวเคลีย โดยแยกเป็นสองแนวทาง
คือ หนึ่งความสามารถที่จะทำลายล้างได้มากกว่าเดิมในบริเวณที่กว้างขึ้นและ อีกอย่างคือประสิทธิภาพ ( efficiency ) ในการเดินตามความสามารถเหล่านี้นั้น อาวุธแบบใหม่ได้เกินขึ้นเพื่อสนองความต้องการในอำนาจการทำลายล้างที่มากขึ้น ซึ่งเป็นที่มากของระเบิดแบบ ไฮโดรเจนนั้นเองครับ อันที่จริงและ ระเบิดไฮโดรเจนนั้นเป็นมากกว่าเการเพิ่มด้านปริมาณในการทำลายล้าง แต่เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพด้านคุณภาพอย่างมหาศาลด้วย ตามทฤษฦีแล้วนั้น อำนาจในการทำลายล้างของระเบิดนิวเคลียนั้นหนึ่งลูกสามารถทำให้เมืองขนาดใหญ่หนึ่งเมืองเป็นอำมภาตได้ เช่นเดียวกันนั้นระเบิดไฮโดรเจนนั้นในทางทฤษฦี ไม่มีขีดจำกัดในด้านขนาดและปริมาณ ทำให้อำนาจระเบิดไฮโดรเจนมากกว่าระเบิดแบบก่อนมาก
คือ หนึ่งความสามารถที่จะทำลายล้างได้มากกว่าเดิมในบริเวณที่กว้างขึ้นและ อีกอย่างคือประสิทธิภาพ ( efficiency ) ในการเดินตามความสามารถเหล่านี้นั้น อาวุธแบบใหม่ได้เกินขึ้นเพื่อสนองความต้องการในอำนาจการทำลายล้างที่มากขึ้น ซึ่งเป็นที่มากของระเบิดแบบ ไฮโดรเจนนั้นเองครับ อันที่จริงและ ระเบิดไฮโดรเจนนั้นเป็นมากกว่าเการเพิ่มด้านปริมาณในการทำลายล้าง แต่เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพด้านคุณภาพอย่างมหาศาลด้วย ตามทฤษฦีแล้วนั้น อำนาจในการทำลายล้างของระเบิดนิวเคลียนั้นหนึ่งลูกสามารถทำให้เมืองขนาดใหญ่หนึ่งเมืองเป็นอำมภาตได้ เช่นเดียวกันนั้นระเบิดไฮโดรเจนนั้นในทางทฤษฦี ไม่มีขีดจำกัดในด้านขนาดและปริมาณ ทำให้อำนาจระเบิดไฮโดรเจนมากกว่าระเบิดแบบก่อนมาก
เหมือนระเบิดนิวเคลียปกติ ระเบิดไฮโดรเจนประสพปัญหาเช่นเดียวกับระเบิดรุ่นก่อนหน้านี้ คือความสามารถในการส่งระเบิดเข้าสู่เป้าหมายได้อย่างไรกัน ในระยะแรกนั้นมีเพียงระเบิดแบบ M-17 ขนาดยี่สิบเอ็ดตัน ซึ่งมีเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์แบบ B-36 เท่านั้นที่สมารถบรรทุกได้ แต่ไม่สามารถที่จะนำไปทิ้งระเบิดเข้าสู่เป้าหมายได้ เนื่องด้วยเป็นเครื่องบินใบพัดบินต่ำกว่าความเร็วของเสียง ซึ่งยากแก่การบุกทลวงน่านฟ้าของโซเวียตได้ และนอกจากนั้นก็ไม่มีอะไรที่จะสามารถนำส่งระเบิดชนิดนี้จากคลังอาวุธในสหรัฐได้ นี่จึงเป็นที่มาของการพัฒนาด้านการนำส่งอาวุธอีกขั้นหนึ่ง โดยมีตัวเลือกสองทางเลือกคือ นำส่งโดยมีมนุษย์ควบคุมหรือว่าไม่มีมนุษย์นำส่ง ซึ่งต่อมาเป็นที่มาของเครื่องบินทิ้งระเบิดรุ่นใหม่อย่าง B-52 และเรือดำน้ำนิวเคลียติดตั้งขีปนาวุธข้ามทวีปนั่นเองครับ
ทีนี้เรามาดูด้านโวเวียตกันบ้าง โซเวียตเองก็รู้สึกถึงภัยคุกคามที่คาดว่าจะมาจากเครื่องบินท่งระเบิดของสหรัฐเช่นกัน แต่สิ่งที่โวเวียตทำนั้นกลับแตกต่างจากสิ่งที่สหรัฐทำ ถึงแม่ว่าโซเวียตจะเคยคิดที่จะสร้างเครื่องบินทิ้งระเบิดเช่นเดียวกับที่สหรัฐสร้างแต่ว่า ตัวโซเวียตเองมีปัญหาด้านภูมิศาสตร์เป็นปัจจัยหลักในการขวางกั้น มหาสมุทรทั้งสองแห่งแยก สหรัฐออกจากสหภาพโซเวียตอีกทั้งโซเวียตเองไม่มีฐานสำหรับเครื่องบินทิ้งระเบิดที่จะบินข้ามมหาสมุทร ถึงแม้ว่าจะสามารบินผ่านทางด้านขั่วโลกเหนือได้แต่โอกาสที่ เครื่องบินจะบินถึงเป้าหมายโดยไม่ถูกยิงตกก่อนนั้น แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยทีเดียว จากเหตุผลข้างต้นทำให้โซเวียตนั้นกลับไปมองสิ่งที่ได้จากความปราชัยของกองทัพเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่สอง จวรจ V-2 นั่นเองครับ เป็นแนวคิดหลังของโซเวียตที่จะส่งหัวรบนิวเคลียไปสู่ดินแดนของสหรัฐอเมริกา ความสำเร็จแรกคือ โซเวียตนับเป็นชาติแรกของโลกที่ส่งดามเทียมขึ้นไปบนอวกาศได้ เฉกเช่นเดียวกับนักบินอวกาศคนแรกของโลกเช่นเดียวกัน และหลังจากนั้นการพัฒนาด้านการทหารจากจรวจเหล่านี้คือ กำลังรบที่ติดตั้งขีปนาวุธข้ามทวีปทั่วดินแดนสหภาพโซเวียตนั่นเอง
ความสำเร็จของโซเวียตในการส่งดามเทียมและมนุษย์อวกาศนั้น ทำให้สหรัฐเองต้องรีบพัฒนาด้านจรวจให้สามารถแข่งขันกับโซเวียตได้ แต่หนึ่งสิ่งที่มีความสำคัญมากกว่านั้นคือการที่ปัญหาที่เปลี่ยนแปลกจาก ความสามารถในการลำเลียงอาวุธเข้าสู่เป้าหมายเป็น ความสามารถในการ รับมือการโจมตีแบบประหลาดใจจากศัตรูได้อย่างไร
SAC or Strategic Air command ของอเมริกาที่มีหน้าที่ควบคุมฝูงบินทิ้งระเบิดแบบทางยุทธศาสตร์ของกองทัพอากาศสหรัฐนั้นมี โอกาสที่จะถูกโจมตีอย่างไม่ทันรู้ตัวจาก ขีปนาวุธข้ามทวีปของโซเวียต หลักการในการทำงานจึงต้องเปลี่ยนไปโดยที่ ปกติแล้วเครื่องบินจะบินขึ้นก็ต่อเมื่อมีภัยคุกคามเท่านั้น แต่เมื่อเป็นการยากที่จะสามารถตรวจจับขีปนาวุธข้ามทวีปและสั่งการอย่างทันท่วงที ไปยังฝูงบินทิ้งระเบิดนั้น อาจจะสายเกินไปแล้ว สิ่งที่ทำได้ก็คือ เริ่มให้มีการบินของเครื่องบินทิ่งระเบิดทางยุทธศาสตร์แบบตลอด24ชั่วโมง และเร่งสั่งการให้กองกำลังที่เหลือบินขึ้นหากได้รับคำยืนยันถึงภัยคุกคาม ในส่วนของกองทัพเรือนั้น เรือดำน้ำติดขีปนาวุธข้ามทวีปจะทำการลาดตระเวณตลอด 365 ของทั้งปี เพื่อนที่จะเป็นหลักประกันหากเกิดการโจมตีจากสหภาพโซเวียต และกองกำลังทางทหารของสหรัฐถูกทำลายไปเกือบหมด เรือดำน้ำติดขีปนาวุธข้ามทวีปจึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในกองกำลังนิวเคลีย ของกองทัพสหรัฐก็ว่าได้ เนื่องจากเรือดำน้ำจะดำตลอดเวลา และจะกลับเข้าฝั่งเมื่อครบกำหนด ซึ่งยากแก่การที่จะถูกโจมตีจากข้าศึกเป็นอย่างมาก นอกจากนี้แล้ว กองทัพอากาศยังได้เริ่มโครงการขีปนาวุธข้ามทวีปของตนบนบกเองอีกด้วย โดยจรวจเหล่านี้จะบรรจุอยูาในฐานยิงที่ให้มีความสามารถในการทนแรงระเบิดนิวเคลียได้ นอกจากจะถูกยิงตรงๆ
จะเห็นได้ว่าในช่วงของการพัฒนาอาวุธนิวเคลียนั้น อุปกรณ์และหลักการใหม่ๆได้ถูกนำมาใช้ในการป้องกันภัยคุกคามจากคู่ต่อสู่ถึงแม้ ว่าหลักการในการพัฒนากำลังรบทางนิวเคลียของทั้งสองประเทศอาจจะแตกต่างกันไปบ้าง แต่แนวคิดในการโจมตีหรือหลักการในการจะใช้อาวุธนิวเคลียก็ยังชัดเจนเหมือนเดิมครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น