จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

History of Submarine (Part II Beginning of Cold War Era)


ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เทคโนโลยีเรือดำน้ำที่กองทัพพันธมิตรได้เข้าไปเจอในอู่เรือของเยอรมันนั้นทำให้ถึงกับตะลึงกับความสามารถทางเทคโนโลยีของเรือดำน้ำเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โดยเฉพาะเรือ Type XXI นั้นเป็นเรือดำน้ำที่ถือได้ว่ามีความทันสมัยที่สุดในยุคนั้น ทันสมัยกว่าเรือดำน้ำของประเทศพันธมิตรที่ปฏิบัติการอยู่ในเวลานั้น และยังเป็นเรือรุ่นแรกที่ได้รับการออกแบบใหม่หมดให้มีรูปร่างที่ต้านน้ำน้อยพร้อมทั้งเพิ่มขนาดแบตเตอรี่ในเรือให้มากขึ้นกว่าเรือรุ่นก่อนกว่าถึงสามเท่าซึ่งทำให้เรือสามารถทำความเร็วใต้น้ำได้เกือบ 20 น๊อต ในขณะที่เรือรุ่นก่อนหน้าทำได้ช้ากว่านี้มาก อีกทั้งยังเป็นเรือที่ติดตั้งท่อดูดอากาศเข้าสู่เรือ ท่อนี้เป็นสิ่งที่ทำให้เรือสามารถแล่นอยู่ใต้ผิวน้ำได้ในระดับหนึ่งซึ่งถ้าหากเกิดเจอเครื่องบินตรวจการเข้าแล้ว เรือสามารถที่จะทำการดำลงฉุกเฉินได้เร็วกว่าเรือที่แล่นอยู่บนผิวน้ำอย่างมากนอกจากนั้นแล้วในขณะที่เรือทำการแล่นใต้น้ำนั้นเรือรุ่นนี้เป็นเรือที่มีเสียงเงียบมากซึ่งเป็นการยากต่ออุปกรณ์ตรวจจับในยุคนั้นในการระบุตำแหน่งของเรือ หลังสงครามยุติเรือเหล่านี้ได้ถูกแยกชิ้นส่วนและนำกลับไปยังทั้งสหรัฐ อังกฤษและอดีตสหภาพโวเวียตเพื่อทำการเรียนรู้และทำการพัฒนาเรือของตนต่อไป


  ในสหรัฐหลังจากการศึกษาและเรียนรู้ซึ่งนำไปสู่การต่อเรือดำน้ำดำน้ำรุ่นใหม่หลายๆรุ่น โดยเรือที่ถือได้ว่าเป็นการพัฒนาก้าวกระโดดที่สุดหลังสงครามโลกครั้งที่สองคือเรือ U.S.S. Nautilus ซึ่งยังเป็นเรือดำน้ำลำแรกของโลกที่ใช้พลังงานนิวเคลีย์ในการขับเคลื่อนเรืออีกด้วย ด้วยความสามารถของพลังงานมหาศาลอย่างพลังงานนิวเคลีย์จึงทำให้ยุทธศาสตร์การทำสงครามต่อต้านเรือดำน้ำนั้นต้องเปลี่ยนไป ประการแรก เรือดำน้ำไม่จำเป็นที่จะต้องโผล่ขึ้นผิวน้ำหรือขึ้นมาใกล้ผิวน้ำเพื่อทำการชาร์ตแบตเตอรี่อีกต่อไป การทำความเร็วใต้น้ำต่อเนื่องสามารถทำได้อย่างไม่จำกัดในทางทฤษฏีเพราะพลังงานนิวเคลีย์สามารถทำการส่งกำลังให้แก่เรือได้อย่างเหลือเฟือ อีกทั้งยังเป็นพลังงานที่นำมาผลิตน้ำจืดดื่มใช้บนเรืออีกด้วย ในด้านการปฏิบัติการ เรือแบบใหม่นี้สามารถทำการลาดตระเวณลึกเข้าไปในน่านน้ำศัตรูและทำการลาดตระเวณเพื่อหาข่าวหรือทำภารกิจโจรกรรมต่างๆได้เป็นเดือนๆ โดยไม่ต้องกลับฐานเพื่อทำการส่งกำลังบำรุง หรือจนกว่าอาหารภายในเรือจะหมด และอย่างที่กล่าวในบทความที่แล้ว เรือลำนี้ยังเป็นเรือลำแรกที่นำพามนุษย์ไปสู่เส้นศูนย์สูตรหรือขั้วโลกได้สำเร็จเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ในส่วนของกองทัพเรือแดงหรือกองทัพเรืออดีตสหภาพโซเวียตก็ได้ทำการต่อเรือรุ่นใหม่ๆที่ได้รับการออกแบบของเยอรมันเป็นพื้นฐาน โดยเรือรุ่นแรกได้แก่เรือ Project611 หรือที่นาโต้เรียนว่า Zulu และพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ ส่วนเรือดำน้ำนิวเคลียร์ลำแรกของกองทัพเรือแดงต้องใช้เวลาล้าหลังกว่าสหรัฐถึงกว่าอย่างน้อยห้าปีในการออกแบบและสร้างเรือรุ่นใหม่ Project 627 หรือที่นาโต้เรียกขานว่า November เรื่องของเรือดำน้ำจะพักไว้เท่านี้ก่อนนะครับ


ต่อไปเราจาดูเรื่องยุทธวิธีของการสงครามเรือดำน้ำในช่วงสงครามเย็นกันครับ อ้างอิงจากสงครามโลกครั้งที่สองนั้น เรือพิฆาตติดตั้งระเบิดน้ำลึกหรือและเฮดดอคนั้นถือเป็นคู่ปรับสำคัญของเรือดำน้ำเยอรมันในการเข้าโจมตีกองเรือขนส่งในมหาสมุทร เนื่องจากเรือเหล่านั้นเมื่อสามารถตรวจพบเรือดำน้ำแล้วก็จะตรงดิ่งเข้ามาทอ้งระเบิดน้ำลึกใส่ในทันที คู่ปรับที่สำคัญไม่แพ้กับเรือผิวน้ำนั้นก็คือเครื่องบินตรวจการทางทะเลที่จะรอคอยเรือดำน้ำให้ขึ้นสู่ผิวน้ำแล้วก็จะทำการโจมตีด้วยปืนกลหรือระเบิดก็แล้วแต่เพราะเรือดำน้ำก็ไม่สามารถหนีไปไหนได้เนื่องจากไม่มีพลังงานที่จะใช้ในการหลบหนี แต่เนื่องจากว่าเรือดำน้ำหลังสงครามโลกนั้นได้มีการปรับปรุงทั้งในด้านความเร็ว ความเงียบและช่วงระยะเวลาการปฏิบัตการใต้น้ำที่นานขึ้นทำให้เป็นการยากที่จะระบุตำแหน่งของเรือดำน้ำ โซนาร์ที่ใช้ในสงครามโลกครั้งที่สองส่วนใหญ่จะเป็นภาคส่ง ซึ่งข้อดีของโซนาร์ภาคส่งนั้นคือสามารถตรวจจับตำแหน่งที่แน่นอนของเรือดำน้ำได้แต่ว่าการทำเช่นนี้ก็ยังเป็นการเปิดเผยตำแหน่งของตนเองเช่นกัน ซึ่งก็เป็นการเสี่ยงอย่างมากที่จะถูกโจมตีด้วยตอร์ปิโดจากเรือดำน้ำข้าศึก ดังนั้นจึงมีการคิดค้นโซนาร์ภาครับขึ้น ซึ่งจะเป็นโวนาร์หรือไมโครโฟนที่คอยฟังเสียงใต้น้ำและนำมาประเมินผลเป็นตำแหน่งของเรือดำน้ำ ขอดีของโซนาร์แบบนี้คือไม่ต้องเปิดเผยตำแหน่งของตนเองให้แก่ข้นศึกทราบแต่ข้อเสียคือเรือดำน้ำข้าศึกต้องแล่นด้วยความเร็วหรือเรือดำน้ำนั้นต้องมีเสียงดังจนกระทั่งสามารถถูกตรวจจับได้ด้วยโซนาร์ภาครับนี้ นอกจากโซนาร์แล้วเครื่องบินตรวจการปราบเรือดำน้ำก็ได้มีการผลิตขึ้นเป็นการเฉพาะโดยจะติดอุปกรณ์ตรวจจับไว้บนเครื่องด้วยและอุปกรณ์ที่น่าสนใจอีกชิ้นหนึ่งก็คือ เครื่องตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของแม่เหล็ก เครื่องนี้จะคอยตรวจหาความผิดปกติในคลื่นแม่เหล็กซึ่งจะการที่คลื่นแม่เหล็กโลกจะถูกรบกวนได้นั้นก็จะต้องเจอกับเหล็กขนาดใหญ่มาก ซึ่งในที่นี้ก็คือโครงสร้างของเรือดำน้ำนั่นเอง แต่ข้อเสียของเครื่องนี้คือจะต้องเข้าใกล้กับเรือดำน้ำมากๆ จึงจะสามารถตรวจตับถึงความผิดปกตินี้ได้ นอกจากนี้แล้วยังมีอุปกรณ์โซนาร์ที่ทิ้งจากเครื่องบินและทำหน้าที่เป็นโซนาร์เป็นได้ทั้งภาครับและภาคส่งขึ้นอยู่กับการติดตั้งอุปกรณ์แต่ละชิ้นครับทำหน้าที่เป็นเหมือนหูให้กับเครื่องบินนั้นเอง ซึ่งเราเรียนอุปกรณ์ตัวนี้ว่า โซนาร์บุย เมื่ออุปกรณ์สามารถระบุตำแหน่งเรือดำน้ำข้าศึกได้แล้ว เครื่องบินก็จะทำการเข้าโจมตีด้วยตอร์ปิโดปราบเรือดำน้ำหรือระเบิดน้ำลึกครับ ด้วยความสามารถที่เพิ่มขึ้นของเรือดำน้ำในช่วงสงครามเย็น การที่จะระบุตำแหน่งและทำการโจมตีเรือดำน้ำทั้งจากเครื่องบินและเรือผิวน้ำนั้นดูจะเป็นเรื่องที่ยากขึ้นอย่างมากในการปฏิบัติ ยุทธวิธีในการปราบเรือดำน้ำจึงเปลี่ยนไปโดยเฉพาะบทบาทของเรือดำน้ำ ซึ่งในช่วงตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสองมานั้น เรือดำน้ำถือได้ว่าเป็นภัยคุกคามอย่างสูงต่อเรือผิวน้ำ แต่ในช่วงสงครามเย็นนั้นเรือดำน้ำได้ถูกเปลี่ยนบทบาทอย่างมากจากหน้าที่หลักในการต่อต้านเรือผิวน้ำกลายเป็นการต่อต้านเรือดำน้ำด้วยกันเองครับ


 ในด้านการออกแบบเรือดำน้ำนั้นทั้งด้านสหรัฐและโซเวียตต่างพยายามออกแบบเรือดำน้ำของตนให้แล่นได้เร็วกว่า ไกลกว่า ปฏิบัติงานได้นานกว่า ซึ่งการที่จะทำให้เรือนั้นแล่นได้เร็วนั้นก็ต้องแลกมาด้วยการส่งเสียงที่ดังกว่าออกมา ซึ่งเป็นการทำให้ถูกตรวจพบได้ง่ายกว่า ดังนั้นเรือดำน้ำรุ่นหลังที่ต่อหลังจากเรือชั้น นอติลุส จึงได้รับการออกแบบให้ต้านน้ำน้อยกว่าเดิมมาก การออกแบบเรือในยุคนี้เป็นต้นมาถ้าสังเกตุให้ดีๆ นักออกแบบจะออกแบบเรือให้เหมือนกันหยดน้ำเพื่อการแล่นผ่านน้ำได้ง่ายกว่าและลดเสียงกระทบที่ตัวเรือทำกับน้ำซึ่งเป็นผลดีต่อการทำความเร็วสูงสุดใต้น้ำอีกด้วย เรือที่ได้รับการออกแบบแล้วเข้าประจำการจริงๆแบบแรกชั้น Skipjack สามารถทำความเร็วได้สูงที่สุดที่ 33 น๊อตซึ่งนับว่าเร็วกว่าเรือดำน้ำทุกลำในกองทัพเรือสหรัฐก็ว่าได้ อีกทั้งยังสามารถถือได้ว่าเป็นเรือดำน้ำโจมตีพลังงานนิวเคลียร์แบบแรกที่เข้าประจำการได้อีกด้วย เรือชั้นนี้ต่อออกมาทั้งหมด 6 ลำแต่สูญเสียหนึ่งลำคือเรือ U.S.S. Scorpion ซึ่งสูญหายระหว่างการเดินทางกลับฐานทัพเรือที่สหรัฐจากทะเลเมดิเตอเรเนี่ยน การสูญหายของเรือลำนี้ได้ถูกสันนิษฐานไว้หลายสาเหตุแต่ปัจจุบันกองทัพเรือสหรัฐก็ยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงของการจมของเรือ สกอร์เปี่ยน บ้างว่าเป็นการล้างแค้นของอดีตสหภาพโซเวียตหรือจะว่ากันไปต่างๆนานา เพราะเหตุการนี้เกิดขึ้นหลังจากเรือ K-219 ของกองทัพเรือโซเวียนสูญหายไปทางตะวันตกเฉียงใต้ของหมู่เกาะฮาวายและกองทัพเรือโซเวียตก็โทษกองทัพเรือสหรัฐในการจมของเรือดำน้ำโซเวียตในครั้งนี้ ส่วนรายละเอียดจะไม่ขอกล่าวในที่นี้ว่าเรื่องราวเป็นอย่างไรนะครับ
ภาคต่อไปก็ติดตามได้กับเรือดำน้ำโจมตีและเรือดำน้ำติดขีปนาวุธข้ามทวีปครับผม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น