จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

History of Submarine (Part IV ASW Assets)


หลังจากภาคที่แล้วเราได้ทำความรู้จักกับเรือดำน้ำโจมตีและเรือดำน้ำติดขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ไปแล้ว คราวนี้เรามาดูการเทคโนโลยีการปราบเรือดำน้ำในช่วงสงครามเย็นกันครับ หลังจากที่การพัฒนาเรือดำน้ำได้ทำให้เรือดำน้ำนั้นทั้งดำได้ลึกขึ้น แล่นได้เร็วขึ้นแต่ที่สำคัญที่สุดคือ แล่นได้เงียบกว่าและปฏิบัตการต่อเนื่องใต้น้ำได้กว่าเรือรุ่นช่วงสงครามโลกครั้งที่สองมากขึ้น คราวนี้เราจะทำอย่างไรละที่เราจะตามหาเรือดำน้ำในมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ไพศาล นี่ก็เหมือนกับการงมเข็มในมาหสมุทรนั่นเองครับ ทางด้านกองทัพสหรัฐได้มีการพัฒนาไฮโดรโฟนใต้น้ำที่จะนำไปติดตั้งตามพื้นท้องมหาสมุทร โดยเฉพาะในด้านมหาสมุทรแอตแลนติกระหว่างช่องว่าง กรีนแลน ไอซแลน และ สกอตร์แลน ช่องแคบระหว่างเกาะนี้จะเป็นช่องทางเดียวที่กองเรือดำน้ำของกองทัพเรือโซเวียตจะต้องใช้ในการเข้าสู้มหาสมุทรแอตแลนติก โครงการนี้เรารู้จักกันในนาม SOSUS (โซซัส)
ตัวโครงการได้เริ่มขึ้นอย่างจริงจังหลังสงครามโลกครั้งที่สองเพื่อจุดประสงค์ในการเป็นสถาณีตรวจจับการเคลื่อนไหวของกองทัพเรือโซเวียตที่จะแล่นเข้าสู่มหาสมุทร โครงการนี้ถือว่าเป็นหนึ่งโครงการลับสุดยอดของกองทัพสหรัฐที่ไม่ต้องการให้สื่อหรือสาธารณะชนรับทราบ การติดตั้งโซซัส ได้มีการติดตั้งทั้งในฟากของมหาสมุทรแปรซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก โดยในด้านของมหาสมุทรแอตแลนติกได้ทำการติดตั้งทั้งบนเกาะไอซแลน และระหว่างช่องแคบทั้งสอง รวมทั้งการติดตั้งไว้ที่ด้านตะวันออกของสหรัฐเรื่อยลงไปจนถึงคิวบา ส่วนในมหาสมุทรแปรซิฟิกก็ได้มีการติดตั้งไว้ทั้งรอบหมู่เกาะฮาวายซึ่งเป็นฐานกองเรือหลักของกองเรือภาคพื้นแปรซิฟิกสหรัฐ  การปฏิบัติงานของโซซัสอย่างเช่นการตามรอยเรือดำนีดีเซลของโซเวียตบริเวณคิวบาและทะเลคาริเบียนในช่วงวิกฤตการขีปนาวุธคิวบาร์ในปี 1962/ การระบุตำแหน่งของเรือดำน้ำติดขีปนาวุธโซเวียต K-219 ที่หายไปน่านน้ำในมหาสมุทรแปรซิฟิกใกล้หมู่เกาะฮาวายซึ่งทำได้ก่อนที่กองทัพเรือโซเวียตจะหาพบและนำไปสู่การกู้ซากเรือภายหลัง แต่อย่างไรก็ตามอุปกรณ์ชนิดนี้จำต้องได้รับการปรับปรุงทางด้าน ซอฟตแวร์ ตลอดช่วงยุคสงครามเย็นเนื่องมาจากการพัฒนาความสามารถของเรือดำน้ำให้มีความเงียบมากขึ้น นอกจากระบบโซซัสที่คอยเฝ้าระวังใต้ผิวน้ำตลอดเวลาแล้วนั้น เครื่องบินลาดตระเวณปราบเรือดำน้ำก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน


  เครื่องบินลาดตระเวณปราบเรือดำน้ำอย่างที่ทราบกันอยู่สามารถย้อยรอยได้ไกลถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่สองที่มีการริเริ่มใช้เครื่องบินในการลาดตระเวณเส้นทางเดินเรือขนส่งของพันธมิตรเพื่อเป็นการป้องกันกองเรือจากเรือดำน้ำเยอรมัน เช่นเดียวกันในช่วงสงครามเย็นเครื่องบินปราบเรือดำน้ำก็ได้รับการพัฒนามากขึ้นอีกทั้งยังติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับที่ทันสมัยอย่างเช่น โซนาบุย ที่เป็นโซนาร์ปล่อยออกจากเครื่องบินซึ่งจะทำหน้าที่เป็นโซนาร์ให้กับเครื่องบินที่บินอยู่ในอากาศ อุปกรณ์อีกอย่างที่น่าสนใจได้แก่อุปกรณ์ตรวจจับความผิดปกติของแม่เหล็กหรือ MAD ซึ่งอุปกรณ์จะทำงานด้วยการตรวจหาแม่เหล็กที่ออกมาจากเรือดำน้ำแต่จะกระทำได้ในระยะใกล้ๆเท่านั้น นอกจากนั้นก็อาจจะเป็นการตรวจหาน้ำร้อนที่ออกมาจากเครื่องปติกรณ์ปรมณูของเรือ ในเรื่องของระบบอาวุธ เครื่องบินลาดตระเวณปราบเรือดำน้ำในช่วงยุคสงครามเย็นสามารถติดตั้งตอร์ปิโดปราบเรือดำน้ำ รวมทั้งระเบิดน้ำลึก บางลำยังสามารถติดตั้งอาวุธนำวิธีอากาศสู่พื้นสำหรับการโจมตีเรือรบได้อีกด้วย เครื่องบินเหล่านี้ได้แก่เครื่อง P-3, Nimrod, Br.1150 Atlantic Atlantique, Tu-142, IL-38


นวัตกรรมอย่างใหม่สำหรับสงครามปราบเรือดำน้ำอีกชนิดก็ได้แก่ เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ แต่ว่าชาติแรกที่เป็นผู้ริเริ่มในการใช้เฮลิคอปเตอร์กับเรือฟริเกตคือประเทศแคนนาดา โดยใช้ในภารกิจปราบเรือดำน้ำคู่กับเรือฟริเกตออกแบบมาสำหรับปราบเรือดำน้ำโดยเฉพาะ และด้วยแนวคิดอันชาญฉลาดของแคนนาดานี้เอง กองทัพเรือทั่วโลกก็ได้เริ่มออกแบบให้เรือรบของตนมีพื้นที่สำหรับให้เฮลิคอปเตอร์ลงจอดพร้อมกับมีโลงเก็บเฮลิคอปเตอร์เพื่อใช้ในการซ่อมบำรุงและเก็บรักษาไม่ให้เฮลิคอปเตอร์โดนน้ำทะเลตลอดเวลา


ในส่วนของระบบอาวุธ จรวจปราบเรือดำน้ำอย่าง ASROC ซึ่งเป็นจรวจที่ใช้สำหรับการปราบเรือดำน้ำ เมื่อจรวจได้ถูกยิงออกไปแล้วนั้นจรวจก็จะแตกตัวออกกลายเป็นตอร์ปิโดนั่นเองครับ อีกเวอร์ชั่นของจรวจแบบนี้จะเป็นแบบ SUBROC ซึ่งเป็นแบบที่สามารถยิงออกมาจากเรือดำน้ำเพื่อประสิทธิภาพในการโจมตีระยะไกลขึ้น
ต่อไปเราจะมาดูการป้องกันการโจมตีจากเรือดำน้ำให้แก่กองเรือบรรทุกเครื่องบินนะครับ โดยส่วนใหญ่แล้ว เรือบรรทุกเครื่องบินจะถือว่าเป็นศูนย์กลางของกองเรือเนื่องมาจากมันเป็นทรัพย์สินที่มีค่ามากที่สุดในกองทัพเรือแล้ว ด้านหน้าจะเป็นเรือพิฆาตหรือเรือลาดตระเวณป้องกันภัยทางอากาศระยะปานกลางถึงใกล้ส่วนในการป้องกันภัยทางอากาศระยะไกลแล้วจะอยู่ที่เครื่องบินขับไล่ประจำเรือบรรทุกเครื่องบินครับ ในด้านข้างของเรือนั้นส่วนใหญ่จะเป็นเรือฟริเกตสำหรับการป้องกันระยะประชิด โดยเรือฟริเกตเหล่านี้ยังสามารถทำหน้าที่เป็นเรือแนวป้องกันการโจมตีด้วยตอร์ปิโดจากเรือดำน้ำได้อีกด้วยหรืออาจจะเป็นเรือพิฆาตหรือเรือลาดตระเวณก็สุดแล้วแต่ครับ ในด้านหลังของกองเรือจะต้องมีเรือปราบเรือดำน้ำคอยระวังหลังให้แก่กองเรือโดยเสมอเพราะด้านหลังถือเป็นจุดอ่อนและจุดบอดของโซนาร์ครับ ในด้านหน้าห่างออกไปหลายสิบกิโลเมตรจะมีเรือพิฆาตหรือเรือลาดตระเวณติดขีปนาวุธป้องกันภัยทางอากาศอยู่เพื่อเป็นด่านป้องกันแรกให้แก่กองเรือ แต่หากว่าไกลออกไปกว่านั้น จะมีเรือพิฆาตปราบเรือดำน้ำแล่นนำหน้ากองเรืออยู่เพื่อเป็นด่านป้องกันเรือดำน้ำด่านแรก และที่สำคัญที่สุด ที่ไกลออกไปจากบริเวณกองเรือนี้แล้ว จะเป็นเขตลาดตระเวณของเรือดำน้ำโจมตีครับ โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีเรือดำน้ำโจมตีแล่นไปด้วยกับกองเรือบรรทุกเครื่องบินอย่างน้อยหนึ่งลำ เพราะเราก็ทราบกันดีอยู่ว่าไม่มีอะไรจะตรวจจับและทำลายเรือดำน้ำได้ดีไปกว่าเรือดำน้ำด้วยกันเองครับ นอกจากเรือต่างๆเหล่านี้แล้วเรือบรรทุกเครื่องบินยังมีเครื่องบินปราบเรือดำน้ำแบบ S-3 และเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำที่พร้อมจะออกปฏิบัติงานอยู่เสมอครับ ยกตัวอย่างเช่น เรือพิฆาตที่แล่นอยู่หน้าสุดของกองเรือสามารถตรวจจับสัญญาณที่เชื่อว่าจะเป็นเรือดำน้ำข้าศึกได้นั้น บนเรือพิฆาตเองก็จะมีเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำประจำการอยู่ด้วยอยู่แล้วอย่างน้อยหนึ่งลำซึ่งหากเป็นช่วงสงครามสามารถบรรทุกได้ถึงสองลำโดยจะสลับการใช้งานหรือจะปฏิบัติงานพร้อมกันกได้ขึ้นอยู่กับสถาณะการ เมื่อเฮลิคอปเตอร์ออกไปแล้วนั้น เรือพิฆาตอาจจะส่งคำร้องขอไปยังกองเรือให้ส่งเครื่องบินปราบเรือดำน้ำออกมาช่วยกันค้นหาเรือดำน้ำข้าศึก เนื่องจากเครื่องบินจะสามารถลาดตระเวณได้ในพื้นที่ๆมากกว่าที่เฮลิคอปเตอร์ลำเดียวจะสามารถทำได้และเนื่องจากขอบเขตและพื้นที่ของทะเลที่มากทำให้ต้องมีการเลือกใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆอย่างถี่ถ้วน นอกจากนี้แล้วหากกองเรือยังแล่นอยู่ในวิศัยที่เครื่องบินลาดตระเวณจากซานบินบนบกสามารถบินมาถึงได้ในบางกรณีก็อาจจะมีการปฏิบัติงานร่วมของกองเรือและอากาศยานจากฐานบินบนบกแต่สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นหลักนิยามในการปฏิบัติของกองทัพเรือสหรัฐซึ่งชาติอื่นๆ แม้แต่โซเวียตก็ทำแบบเดียวกันแต่อาจจะมีข้อแตกต่างในเรื่องของรายละเอียดและขั้นตอนในการปฏิบัติที่แตกต่างกันไปบ้าง บางชาติมีเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ไว้สำหรับปราบเรือดำน้ำโดยเฉพาะ อย่างเช่นเสปน ไทย ญี่ปุ่น เป็นต้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น