อาวุธนิวเคลียถูกใช้คร้งแรกและครั้งเดียวคือในสงครามโลกครั้งที่ 2 การ ทิ้งระเบิดนิวเคลียใส่เมือง ฮิโรชิมา และ นางาซากิ นั้นช่วยให้อมริกาสามรถยุติสงครามโลกครั้งที่สองโดยไม่ต้องสูญเสียกำลังพล และยุทโธปกร์ในการบุกเกาะญี่ปุ่น ถึงกระนั้นแม้ว่าโลกจะเคยเผชิญกับความน่ากลัวและความสามรถของระเบิดนิวเคลีย ในสงครามโลกครั้งที่สองมาแล้ว แต่ถึงกระนั้น ระหว่างสงครามเย็นที่มี ที่เกิดสงครามย่อยๆทั่วโลกไม่ว่าจะเป็น เวียดนามในปี 60 อาฟกานิสฐานในปี 80 และ สงครามในตะวันออกกลางระหว่างชาติกาหรับกับอิสราเอลนั้น ประเทศที่ล้วนเข้าไปทำสงครามนั้นล้วนแล้วแต่มีตวามสามารถที่จะใช้นิวเคลียใน การทำลายล้างศัตรูในสนามรบทั้งสิ้น แต่ว่าอะไรเป็นสิ่งที่ไม่ทำให้เกิดชึ้นละ อืมมมมม น่าคิดนะครับบ
จำนวนการดูหน้าเว็บรวม
วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554
วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554
History of Submarine (Part IV ASW Assets)
หลังจากภาคที่แล้วเราได้ทำความรู้จักกับเรือดำน้ำโจมตีและเรือดำน้ำติดขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ไปแล้ว คราวนี้เรามาดูการเทคโนโลยีการปราบเรือดำน้ำในช่วงสงครามเย็นกันครับ หลังจากที่การพัฒนาเรือดำน้ำได้ทำให้เรือดำน้ำนั้นทั้งดำได้ลึกขึ้น แล่นได้เร็วขึ้นแต่ที่สำคัญที่สุดคือ แล่นได้เงียบกว่าและปฏิบัตการต่อเนื่องใต้น้ำได้กว่าเรือรุ่นช่วงสงครามโลกครั้งที่สองมากขึ้น คราวนี้เราจะทำอย่างไรละที่เราจะตามหาเรือดำน้ำในมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ไพศาล นี่ก็เหมือนกับการงมเข็มในมาหสมุทรนั่นเองครับ ทางด้านกองทัพสหรัฐได้มีการพัฒนาไฮโดรโฟนใต้น้ำที่จะนำไปติดตั้งตามพื้นท้องมหาสมุทร โดยเฉพาะในด้านมหาสมุทรแอตแลนติกระหว่างช่องว่าง กรีนแลน ไอซแลน และ สกอตร์แลน ช่องแคบระหว่างเกาะนี้จะเป็นช่องทางเดียวที่กองเรือดำน้ำของกองทัพเรือโซเวียตจะต้องใช้ในการเข้าสู้มหาสมุทรแอตแลนติก โครงการนี้เรารู้จักกันในนาม SOSUS (โซซัส)
วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554
History of Submarine (Part III Cold War SSN and SSBN)
หลังจากความสำเร็จของเรือชั้น Skipjack ขั้นต่อมาของการพัฒนาเรือดำน้ำโจมตีของกองทัพเรือสหรัฐนั้นขึ้นอยู่กับสมรรถณะทั้งในด้านความเร็วและความเงียบ เรือชั้น Thresher ได้รับการออกแบบมาเพื่อจุดประสงค์นี้ ความล้ำหน้าของเทคโนโลยีความเงียบในเรือนั้นขึ้นอยู่กับหลายๆปัจจัยด้วยกัน เสียงของเรือนั้นอาจจะมาจากเสียงปั้มน้ำของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่วางอยู่ในเรือซึ่งแม้แรงสั่นสะเทือนเพียงเล็กน้อยก็จะถูกส่งผ่านไปยังตัวเรือและออกไปสู่ทะเลด้านนอก ทางแก้ที่ใช้ได้ผลก็คือ ข้อต่อทุกชิ้นในเรือชั้นนี้จะมีการใช้ยางใส่เข้าไประหว่างข้อต่อต่างๆนั้นจะช่วยลดการส่งต่อของทั้งเสียงและแรงสั่นสะเทือนในตัวเรือออกไปด้านนอกได้น้อยลง แต่ที่น่าสนใจอีกสำหรับเรือชุดนี้ก็คือการที่เรือชุดนี้ได้รับการออกแบบให้มีโดมโซนาร์ที่หัวเรือและย้ายห้องตอร์ปิโดไปไว้ในส่วนหลังของโดมโซนาร์ โครงเรือซึ่งจะเป็นบริเวณที่รับแรงกดของน้ำได้รับการออกแบบใหม่จากการศึกษามาจากเรือชั้นก่อน ซึ่งจะทำให้เรือสามารถทำความลึกได้ถึงกว่า 1300 ฟุตเลยทีเดียว
วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554
History of Submarine (Part II Beginning of Cold War Era)
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เทคโนโลยีเรือดำน้ำที่กองทัพพันธมิตรได้เข้าไปเจอในอู่เรือของเยอรมันนั้นทำให้ถึงกับตะลึงกับความสามารถทางเทคโนโลยีของเรือดำน้ำเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โดยเฉพาะเรือ Type XXI นั้นเป็นเรือดำน้ำที่ถือได้ว่ามีความทันสมัยที่สุดในยุคนั้น ทันสมัยกว่าเรือดำน้ำของประเทศพันธมิตรที่ปฏิบัติการอยู่ในเวลานั้น และยังเป็นเรือรุ่นแรกที่ได้รับการออกแบบใหม่หมดให้มีรูปร่างที่ต้านน้ำน้อยพร้อมทั้งเพิ่มขนาดแบตเตอรี่ในเรือให้มากขึ้นกว่าเรือรุ่นก่อนกว่าถึงสามเท่าซึ่งทำให้เรือสามารถทำความเร็วใต้น้ำได้เกือบ 20 น๊อต ในขณะที่เรือรุ่นก่อนหน้าทำได้ช้ากว่านี้มาก อีกทั้งยังเป็นเรือที่ติดตั้งท่อดูดอากาศเข้าสู่เรือ ท่อนี้เป็นสิ่งที่ทำให้เรือสามารถแล่นอยู่ใต้ผิวน้ำได้ในระดับหนึ่งซึ่งถ้าหากเกิดเจอเครื่องบินตรวจการเข้าแล้ว เรือสามารถที่จะทำการดำลงฉุกเฉินได้เร็วกว่าเรือที่แล่นอยู่บนผิวน้ำอย่างมากนอกจากนั้นแล้วในขณะที่เรือทำการแล่นใต้น้ำนั้นเรือรุ่นนี้เป็นเรือที่มีเสียงเงียบมากซึ่งเป็นการยากต่ออุปกรณ์ตรวจจับในยุคนั้นในการระบุตำแหน่งของเรือ หลังสงครามยุติเรือเหล่านี้ได้ถูกแยกชิ้นส่วนและนำกลับไปยังทั้งสหรัฐ อังกฤษและอดีตสหภาพโวเวียตเพื่อทำการเรียนรู้และทำการพัฒนาเรือของตนต่อไป
History of Submarine (Part I From History to Cold war)
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเรือดำน้ำถือว่าเป็นหนึ่งในอาวุธยุทโธปกณ์ที่มีประโยชน์และคุณค่าในหลายๆด้าน แม้ว่าบทบาทของเรือดำน้ำในแต่ละยุคสมัยจะมีความแตกตากกันบ้างตามแต่ภารกิจและคุณสมบัติรวมถึงสมรรถณะของเรือแต่ละลำ แต่ถึงอย่างไรก็ตามเรือดำน้ำก็ยังเป็นหนึ่งในอาวุธที่น่าเกรงขามที่สุดในคลังแสงกำลังรบของกองทัพเรือแต่ละ ชาติ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)